5 อันดับ ความเสี่ยงที่อันตรายที่ผ่านมา ในปี 2021 เราพบกับแบบไหนมาบ้าง


11/Jan/2022
Internet of Things

5 อันดับ ความเสี่ยงที่อันตรายที่ผ่านมา ในปี 2021 เราพบกับแบบไหนมาบ้าง

1.Deep Fake : ที่มาในทุกรูปแบบ ทั้ง

- การใช้ Deepfake Technology ในการจัดการปลอมแปลงหน้าคนพูดที่น่าเชื่อถือให้ขยับตามบทที่เตรียมไว้ปัจจุบันนั้น ทำได้อย่างแนบเนียนขึ้นดังนั้นต้องระวังในการเปิดเผยตัวตนออนไลน์มากขึ้นไปจนถึงไม่สามารถรู้ได้เลยว่าตัวตนของเราจะถูกปลอมแปลงเมื่อไหร่ อันนี้น่ากลุ้มใจจริงๆ ผู้ใช้ผู้อ่านอย่างเราก็ไม่แน่ใจเลยว่าจะถูกปลอมแปลงบ้างหรือไม่

- ข่าวปลอม ที่อ้างอิงแหล่งที่มายาก ไม่มีหน้าผู้พูด ชื่อผู้เขียนที่ค้นหาไม่เจอ และเสียงที่ไร้แหล่งที่มา รวมถึงเนื้อหาที่ดูมีหลักการซะลึกซึ้ง ต้องอ่านและวิเคราะห์มากขึ้น อ่านแต่พาดหัวข่าวก็ไม่ดี พาดหัวข่าวซะให้คิดไปไกล - Website ปลอม ทำมาอย่างเหมือนเปลี่ยนแค่ตัวอักษร บางตัวอย่าง เปลี่ยนตัวอักษร ตัว o เป็น 0 เป็นต้น อ่านผ่านๆ อาจจะพลาดได้ โดนขโมยข้อมูลง่ายๆ เลยเน้อ จะเข้าอะไร แชร์อะไร ด่าใคร ระวังให้ดี

2. Good Spam bad link ( Target Spear Phishing )


- ข่าวดีๆมาทาง Email แต่แทรก link ที่เป็นไวรัสมาให้ กดไปก็ยาวๆไป หมายถึงข้อมูลหายยาวๆไป เช่น ข่าวเกี่ยวกับ ผลการรายงานโควิด หรือการแจ้งผลประกอบการหุ้นต่างๆช่วงปลายปี หรือ การลดหย่อนภาษี คลิกลิ้งนี้ได้เลย กดที่นี่เพื่ออ่านต่อ ..... ดู link ที่จะขึ้นมาให้ไปต่อดีๆ

- ข่าวที่มาตาม Feed line , facebook หรือ ตามเกมส์ต่างๆ โปรแกรมฟรีต่างๆ หรือกระทั้ง จาก Youtube กด link ให้ระวังนะครับ

3. Good Man can download ( Freeware with Sharing )


- สายฟรีมีน้ำใจ อยากได้ โปรแกรมฟรี รูปภาพฟรี เอกสารน่าอ่านทั้งหลาย มีให้ค้นหาจากหลายแหล่ง แต่แหล่งไหนปลอดภัยละ แล้วไฟล์ที่โหลดมากล้าลงกันขนาดไหน ส่วนนี้ทั้งมือถือ และ เครื่องโน๊ตบุ๊คกันเลยทีเดียว

- Malware , Ransomware ชอบแถมมากับโปรแกรมฟรีทั้งหลายนี่แหละ ไม่ต้องไปสืบเลยว่ามาจากไหน อันไหนควรเสียเงินก็เสียเน้อ

4. Digital Law impact


- กฏหมายดิจิทัล กฏหมายมาแล้วจ้าหลายฉบับเลย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีเห็นฟ้องกันมากขึ้นและจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการหมิ่นประมาท การตัดต่อรูปภาพ การสร้างความเสียหายให้กับระบบ

- รวมไปถึงพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อีกกก ที่ยังไม่บังคับใช้เอาแล้ว

- สายออนไลน์ทุกคนต้องอ่านกฏหมาย Digital law ให้ครบทุกฉบับนะ ซึ่งตอนนี้มีด้วยกัน 8 ฉบับ อ่านให้ถ่องแท้ ศึกษาไม่ใช่เพื่อฟ้องคนอื่น แต่เพื่อปกป้องตัวเองจากการปฏิบัติที่เข้ามาคุกคามเรา

5. You know me a little go ( นายรู้จักเราน้อยไป )

  • การอ้างอิงสิทธิเป็นตัวบุคคลอื่นสามารถกระทำได้ง่าย แต่ส่วนนี้ไม่ใช่ Deep Fake account นะครับ แต่ตัวเราเอง เปิดเผย ข้อมูลตัวเองแก่โลกภายนอกเยอะไป ทุกวันนี่จะหาข้อมูลบุคคลแล้วไปอ้างอิงทำธุรกรรมออนไลน์
  • การให้บัตรเครดิต แก่ผู้อื่นในการชำระบริการต่างๆ
  • การผูกบัตรกับบริการต่างๆ
  • การเปิดเผยข้อมูลให้บริษัทขนส่งทั้งหลาย ( อันนี้ต้องย้ำเลย เพราะเดียวนี้ขอใบกำกับภาษีกันด้วย แปะกันมาหน้ากล่องเลย
  • การให้ข้อมูลผู้ให้บริการ สมัครสมาชิก หรือ เผื่อได้ส่วนลดต่างๆ ในการรับบริการออนไลน์ แค่นี้เน้อ คร่าวๆ คิดว่าแค่นี้ข้อมูลเราจะรั่วไหลไหม ลองคิดว่าถ้าเราโทรไปแบงค์ แล้วลองตอบคำถามที่เค้าถามๆดู หรือจะ hack account เรา พวก password วันเดือนปีเกิด เลขบัตร อะไรงี้ นั้นแหละนิยาม " ยูโนมีอะลิทเติ้ลโกว " หอมปากหอมคอนะครับ

สำหรับความเสี่ยงใหม่ๆ ปี 2021 ที่ผ่านมาก ต้องระวังกันมากขึ้นในปีนี้ด้วยนะครับ ที่จะต้องประสบพบเจอกัน แน่ๆ ทีมงาน AveryITTech จะสรุปเหตุการณ์ที่น่ากลัวที่จะเกิดในปี 2022 ในบทความถัดไปอีกทีนึงให้ท่านผู้อ่านได้ระวังกันมากขึ้น